วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

โค้งสุดท้ายก่อนอสอบ O-net ในการเก็บคะแนน


สวัสดีเพื่อนทุกๆคนน้าา ในบทความนี้เรามาบอกวิธีในการทบทวนและเพิ่มคะแนนในส่วนของ Clozet test และ Error identification ให้ได้คะแนนเยอะๆกันน้าา >w< โดยเราสรุปในส่วนที่ต้องรู้มาไว้ให้แล้ววว  อาจจะในคำแบบห้วนๆเชิงวิชาการเพื่อนหลายคนอาจจะเบื่อไรงี้ สู้ๆนะโค้งสุดท้ายล้าวว อ๋อออ ลืมบอกหากใครกำลังหาวิธีเพิ่มคะแนนในส่วนของ Reading นั้นจะอยู่อีกบทความนะคะ : )  ขอให้ได้คะแนน O-net กันเยอะๆเลยนะ สู้ๆจ้าา มาเริ่มกันเลยยย

เทคนิคในการทำข้อสอบ Cloze Test
1. อ่านประโยคแรกแล้ววิเคราะห์ตีความให้แตกก่อน
2. พบช่องว่างอย่าเพิ่งเติม ให้อ่านประโยคต่อไป 1-2 ประโยคก่อนแล้วจึงค่อยเติม
3. พยายามฝึกหาตัวชี้แนะทางบริบท
4. ตอบไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน จำเสมอ แต่ละประโยคแต่ละย่อหน้ามีความสัมพันธ์กัน
นอกจากนี้แล้วในการทำข้อสอบ Cloze Test สามารถนำเทคนิคของการทำข้อสอบ Reading มาใช้ร่วมกันได้อีกด้วยโดยการเพิ่มหลักการต่อไปนี้
1. การหา Main Idea เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับ Passage นั้นมากขึ้นไปอีก
2. Reference หรือ การอ้างอิง เพื่อทำให้เราทราบว่าเราควรเลือกคำใดมาใช้หากต้องมีการอ้างอิงถึงคำในประโยค
3. Inference หรือ การสรุป เพื่อทำให้เราสามารถคาดเดาเนื้อเรื่องได้ว่า Passage นี้ต้องการสื่ออะไรให้เราทราบเพื่อง่ายต่อการเลือกคำมาใช้
4. Detail หรือ รายละเอียด เราต้องรู้ว่าในเนื้อเรื่องนั้นๆความมีอะไรบ้างที่ควรมาเป็นรายละเอียดให้เรื่องนั้นๆมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
5. Vocabulary in context หรือ หลัก Context clue เป็นการคาดเดาคำศัพท์ในบริบทต่างๆเพื่อที่จะได้ไม่ต้องแปลคำศัพท์ทุกตัวใน Passage แต่อย่างไรก็ตามเราเองก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในระดับหนึ่ง  














เทคนิคการทำข้อสอบ Error Identification
1.ดูความผิดพลาดของกริยา
- Subject – Verb Agreement
- Tense
- Finite/Non-finite verb
- Voice ผิดรูป เช่น ใช้ V.2 แทน V.3
2. ความผิดพลาดเรื่องรูปคำ (Word Form)
            - การใช้ Part of speech à ใช้ Adjective แทน Adverb / ใช้ Noun แทน Verb
-Note-
àให้ดูตำแหน่ง/หน้าที่ของคำในประโยค
àให้ดูส่วนท้ายของคำ (Suffix)
3. ความผิดพลาดในการเลือกใช้คำ (Word Choice)
            - มักเป็นการใช้คำๆหนึ่งแทนที่จะใช้คำอีกคำหนึ่งซึ่งถูกไวยากรณ์ คล้ายๆกับเรื่องของ Word Form

4. ความผิดพลาดในเรื่องของ Parallelism
-การใช้คำผิดชนิด/โครงสร้าง จากสมาชิกตัวอื่นในกลุ่มของมัน
-Note-
à ให้สังเกตคำว่า “and” หรือเครื่องหมาย “,” แล้วเปรียบเทียบดูว่าคำที่ใช้นั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือไม่
5. ความผิดพลาดในเรื่องของ Conjunction
- ใช้ Correlative ผิดคู่ à not only…but, both…and เป็นต้น
- ใช้ Conjunction ผิด à ใช้ who ในส่วนที่ต้องใช้ which, ใช้ and ในส่วนที่ขัดแย้งกันแทน but เป็นต้น
- ใช้ Preposition ผิด à ใช้ during ในส่วนที่ต้องใช้ when, ใช้ because of แทน because เป็นต้น
6. ความผิดพลาดเรื่องพจน์ (Number)
- ใช้นามรูปเอกพจน์หลังคำต่อไปนี้ à a couple (of), (a) few, a number of, both, many, several, each of, one of, all (กับนามนับได้), some (กับนามนับไม่ได้), these, those, etc. (หลังคำที่กล่าวมาต้องใช้รูปพหูพจน์ จึงจะถูก) 
- ใช้นามพหูพจน์หลังคำต่อไปนี้ à a, an, amount of, (a) little, a single, each, every, much, one, this, that, etc. (หลังคำที่กล่าวมาต้องใช้รูปเอกพจน์จึงจะถูกต้อง) 
- นามนับไม่ได้/นามที่มีแต่รูปเอกพจน์/นามที่มีรูปพหูพจน์พิเศษ แต่นำ s มาเติมเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์ à informations, furniture, golds, deers, teeths, etc. (คำดังกล่าวต้องไม่เติม s)
-ใช้รูปพหูพจน์ของนามประสม (Compound Noun) แบบผิดๆ à detectives stories, toys stores, car races, three two- months courses, etc. (คำนามตัวแรกทำหน้าที่ adjective ดังนั้นต้องใช้รูปเอกพจน์กับนามตัวแรกเท่านั้น ส่วนตัวหลังจะเป็นรูปพหูพจน์)
-ใช้คำบอกจำนวนที่ควรเป็นพหูพจน์ในรูปเอกพจน์ à hundred of, thousand of, million of  (คำบอกจำนวนที่ตามด้วย of จะเป็นคำนามพหูพจน์เสมอ)
7. ความผิดพลาดในการใช้ Pronoun
            - Noun กับ Pronoun ไม่สอดคล้องกัน  
            - ใช้ Pronoun ผิดหน้าที่ àใช้รูปประธานแทนรูปกรรม
            - ใช้ Pronoun โดยไม่จำเป็น àมีประธานอยู่แล้วยังใช้ pronoun เป็นประธานซ้ำซ้อนอีก 
8. ความผิดพลาดในเรื่องของ Comparison
            - ใช้รูปเปรียบเทียบ Comparative แทน Superlative  
            - ใช้รูปเปรียบเทียบที่ผิดกฎ
9. ความผิดพลาดในเรื่องของ Article
            - ใช้ Article “a” คำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ
            - ใช้ Article “an” คำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะ
            - ใช้ Article ผิดชนิด à ใช้ Indefinite (a, an) แทน Definite(the)
            - ใช้ Article ในบริบทที่ไม่ควรใช้ หรือในที่ที่ควรใช้แต่ไม่ใช้  
10. ความผิดพลาดในเรื่องของกริยาไม่แท้ (verbal / non-finite verb)
            - ใช้ Infinite แทน gerund
            - ใช้ Present Participle (V.-ing) แทน Past Participle (V.3)
            - ใช้ verbal แบบผิดๆ à to walking, to introducing, etc.
            - ใช้ Infinite หรือ Gerund หลังคำกริยา (can, may, must, will, etc.)
-Note-
à Verbal ที่ตามหลัง preposition ต้องเป็น gerund (V.-ing) เช่น without smiling
à กริยาต้องการกรรม (transitive verb) มีรูป participle ให้เลือก 2 รูป จะใช้รูป present participle (V.-ing) หรือ past participle (V.3) ให้ดูคำที่ตามมา
à ถ้าตามด้วย by หรือ prepositional phrase จะใช้ v.3 เช่น the bridge built by …….. established in 1950, etc.
à ถ้าตามด้วย noun จะใช้ V.-ing เช่น building the house
11. ความผิดพลาดในการใช้ Preposition
- ใส่ Preposition ในที่ที่ไม่ควรใส่ หรือไม่ใส่ในที่ที่ควรใส่
- ใช้ Preposition แบบผิดตัว
12. ความผิดพลาดของไวยากรณ์ในเรื่องของ Word Order
            - มีคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเรียงลำดับแบบสลับที่กันอยู่